แบบทดสอบ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่นะครับ

เรื่องวงดนตรีไทย       http://www.tempf.com/getfile.php?id=854469&key=4d529a29553c4

เรื่องเครื่องดนตรีไทย http://www.tempf.com/getfile.php?id=854472&key=4d529aef12c85

เรื่องคีตกวีไทย            http://www.tempf.com/getfile.php?id=854477&key=4d529b7e7fbc1
วงมโหรี
             หมายถึง วงดนตรีชนิดหนึ่งมีกำเนิดในสมัยรัตนโกสินทร์ ใช้บรรเลงในโอกาศพิเศษ แต่เดิมใช้ผู้หญิงบรรเลงมีในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น เครื่องดนตรีสำหรับวงมโหรีก็ประดิษฐ์ขึ้นเป็นพิเศษ มีขนาดเล็กกว่าเดิม ระนาดก็เล็กกว่าเดิม ฆ้องก็เล็กกว่าเดิม ให้เหมาะกับผู้หญิงตีและเสียงก็จะเล็กกว่าเดิม
วงมโหรีวงเล็ก
                นิยมใช้บรรเลงในงานที่ค่อนข้างเล็กในอาคารสถานที่ไม่กว้างขวางนัก มีเครื่องดนตรีประกอบ ดังนี้
- ซอสามสาย                   - ซอด้วง                     
- ซออู้                              - จะเข้                         
- ระนาดเอกมโหรี             -  ฆ้องวงใหญ่มโหรี         
 - โทนมโหรี                     - รำมะนามโหรี             
- ขลุ่ยเพียงออ                 - ฉิ่ง                          
(ฉาบเล็ก กรับ และโหม่ง จะมีหรือไม่มีก็ได้)


วงมโหรีเครื่องใหญ่
        วงมโหรีเครื่องใหญ่หรือวงมโหรีวงใหญ่นั้นก็มีเครื่องดนตรีมากขึ้นกว่าเดิมและจะใช้กับสถานที่ที่ค่อนข้างใหญ่ นิยมบรรเลงในสถานศึกษาโดยนักเรียน นิสิตนักศึกษา เพราะมีการเรียนการสอนได้ฝึกหัดกันมากเพื่ออวดฝีมือจึงจัดการแสดงมโหรีวงใหญ่ได้บรรเลงกันโดยทั่วไป มีเครื่องดนตรีดังนี้
- ซอสามสายธรรมดา             - ซอสามสายขลิบ  
- ซอด้วง                                - ซออู้                       
- จะเข้                                   - ระนาดเอกมโหรี 
- ระนาดทุ้มมโหรี                    - ฆ้องวงใหญ่มโหรี 
- ฆ้องวงเล็กมโหรี                   - โทนมโหรี            
- รำมะนามโหรี                       - ขลุ่ยเพียงออ         
 - ขลุ่ยขลิบ                             - ฉิ่ง                          
 - ฉาบเล็ก                              - กรับ
 - โหม่ง                                  - ฆ้องราว                



                        ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/32273
                   http://www.somchaidontrithai.com/cart/stringed1.asp
 
          
               
              
วงเครื่องสาย     
            วงเครื่องสาย อาจมีวิวัฒนาการมาจากการบรรเลงพิณ ที่ระบุไว้เป็นหลักของเครื่องดีดสีในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย แล้วมาเล่นร่วมกับขับไม้ และมาผสมวงเป็นคล้ายๆ กับวงเครื่องสายวงเครื่องสายที่ถือเป็นแบบแผน ตามวิชาการดนตรีของไทยนั้น กำหนดวงเป็น 2 ขนาด ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้


                      วงเครื่องสายวงเล็ก  ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  ดังนี้
                 - ซอด้วง
                 - ซออู้
                 - จะเข้
                 - ขลุ่ยเพียงออ
                 - โทน
                 - รำมะนา
                 - ฉิ่ง

              วงเครื่องสายวงใหญ่  ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
- ซอด้วง
- ซออู้
- จะเข้
- ขลุ่ยเพียงออ
- ขลุ่ยหลิบ
- โทน 1
- รำมะนา
- ฉิ่ง
- ฉาบเล็ก 1 คู่
วงปี่พาทย์
                วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และยังมีเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ปี่พาทย์นี้บางสมัยเรียกว่า "พิณพาทย์"


   วงปี่พาทย์เครื่องห้า
 เป็นวงปี่พาทย์ที่เป็นวงหลัก มีจำนวนเครื่องดนตรีน้อยชิ้นที่สุด ดังนี้
                                                -ปี่ใน 1 เลา
                                                -ระนาดเอก 1 ราง
                                                -ฆ้องวงใหญ่ 1 วง
                                                -กลองทัด 2 ลูก
                                                -ตะโพน 1 ลูก
                                                -ฉิ่ง 1 คู่
                                                -ในบางกรณีอาจใช้ฉาบ กรับ โหม่งด้วย



วงปี่พาทย์เครื่องคู่
               เป็นวงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองเป็นคู่เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้คิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก 2 อย่าง คือ ระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก และนำเอาปี่นอกซึ่งใช้ในการบรรเลงปี่พาทย์สำหรับการแสดงหนังใหญ่สมัยโบราณมารวมเข้ากับวงปี่พาทย์เครื่องห้าที่มีอยู่เดิม 
                วงปี่พาทย์เครื่องคู่มีเครื่องดนตรีดังนี้
                           -ปี่ 1 คู่ คือ ปี่ในและปี่นอก
                           -ระนาด 1 คู่ คือ ระนาดเอกและระนาดทุ้ม
                           -ฆ้องวง 1 คู่ คือ ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก
                           -กลองทัด 1 คู่
                           -ตะโพน 1 ลูก
                           -ฉิ่ง 1 คู่
                           -ฉาบเล็ก 1 คู่
                           -ฉาบใหญ่ 1 คู่
                           -โหม่ง 1 ใบ
                           -กลองสองหน้า 1 ลูก (บางทีใช้กลองแขก 1 คู่ แทน)
                           -ในบางกรณีอาจใช้กรับด้วย



วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
               คือ วงปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดเอกเหล็กกับระนาด บางวงก็เพิ่มกลองทัด รวมเป็น 3 ใบบ้าง 4 ใบบ้าง ส่วนฉาบใหญ่นำมาใช้ในวงปี่พาทย์ในรัชสมัย     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
               วงปี่พาทย์ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ ถ้ามีการบรรเลงเพลงภาษาจะใช้เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของภาษานั้น ๆ ด้วย เช่น
               - ภาษาเขมร   ใช้ โทน
               - ภาษาจีน     ใช้ กลองจีน กลองต๊อก แต๋ว
               - ภาษาฝรั่ง    ใช้ กลองมริกัน (อเมริกัน) หรือกลองแตร็ก (
side drum, snare drum)

               - ภาษาพม่า   ใช้ กลองยาว
               - ภาษามอญ  ใช้ ตะโพน เปิงมาง

 

วงปี่พาทย์นางหงส์
                 คือ วงปี่พาทย์ธรรมดาซึ่งใช้บรรเลงทั่วไป แต่เมื่อนำมาใช้ประโคมในงานศพ จะนำวงบัวลอยซึ่งประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ และเหม่ง 1 ใบ ที่ใช้ประโคมในงานศพเข้ามาผสม (ดู วงบัวลอย ประกอบ) โดยตัดปี่ใน ตะโพน และกลองทัด ออก ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนและกลองทัด ส่วนเหม่งนั้นมีเสียงไม่เหมาะกับวงปี่พาทย์จึงไม่นำมาใช้ ใช้แต่โหม่งซึ่งมีอยู่เดิม เรียกว่า "วงปี่พาทย์นางหงส์"
               วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ สาเหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ ก็เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์ 2 ชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลง นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการไปใช้บรรเลงเพลงภาษาต่าง ๆ เรียกว่า "ออกภาษา" ด้วย


วงปี่พาทย์มอญ
             ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้อิทธิพลมาจากมอญ เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ และเปิงมางคอก ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาด ได้แก่                
1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยปี่มอญ ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง               
 2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็ก              
  3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก       วงปี่พาทย์มอญนั้นที่จริงแล้วใช้บรรเลงในโอกาสต่าง ๆ ได้ทั้งงานมงคล เช่น งานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรี และงานอวมงคล เช่น งานศพ แต่ต่อมานิยมบรรเลงในงานศพ เนื่องจากท่วงทำนองเพลงมอญมีลีลาโศกเศร้า โหยหวน ซึ่งเหมาะกับบรรยากาศของงาน จนบางท่านนึกว่าปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น

           วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
             วงปี่พาทย์ไม้แข็งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  วงปี่พาทย์เครื่องหนัก  วงปี่พาทย์จัดเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายสูงสุดในกลุ่มวงปี่พาทย์ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นวงดนตรีที่มีความเป็นมาตรฐานที่สูงสุดอีกด้วย เครื่องดนตรีที่สังกัดในวงดนตรีประเภทนี้ทุกเครื่องจะมีเสียงดัง เนื่องจากบรรเลงด้วยไม้ตีชนิดแข็ง จึงเรียกชื่อวงดนตรีชนิดนี้ว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง ตามลักษณะของไม้ที่ใช้บรรเลงบรรเลง อรรถรสที่ได้จากการฟังดนตรีชนิดนี้จึงมีทั้งความหนักแน่น สง่าผ่าเผย คล่องแคล่ว และสนุกครึกครื้น  จึงสามารถบรรเลงได้ในโอกาสทั่วๆไป  เช่น  งานพระราชพิธี  งานบวชนาค  งานโกนจุก  เทศน์มหาชาติ  ประกอบการแสดง  โขน  ละคร  ลิเก  หนังใหญ่  เป็นต้น 
           วงปี่พาทย์ไม้แข็งสามารถแบ่งตามขนาดของวง   ได้เป็น ๓ ขนาด คือ
1.วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า

2.วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่
             วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ พัฒนามาจากวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้าโดยการจัดเครื่องดนตรีให้เป็นคู่กัน  จึงเรียกว่าวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงปี่พาทย์ชนิดนี้เกิดขึ้นในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยมีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กขึ้นเพื่อให้คู่กับระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่

3.วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
             วงดนตรีประเภทนี้เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยเครื่องดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่เป็นหลัก แต่มีการเพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กขึ้นอีกอย่างละราง นับเป็นวงปี่พาทย์ไม้แข็งที่มีวิวัฒนาการสูงสุดในปัจจุบัน 
             ที่มา ::http://www.thaigoodview.com/node/32273
                  http://www.somchaidontrithai.com/cart/stringed1.asp